ph
line2
facebook
ph
line2
facebook

แร่อัญมณีอันทรงคุณค่าของไทย มีอยู่ที่ไหนกันบ้าง?

 

   ploy

 

       หากเอ่ยชื่อทับทิมสยาม หลายคนคงคุ้นหูกันมาตั้งแต่ในอดีต ทำให้หลับตานึกภาพพลอยสีแดงอมชมพูที่สวยงามเมื่อนำมาทำเป็นเครื่องประดับ จึงเกิดความสงสัยว่าในไทยมีแร่อัญมณีชนิดใดอยู่บ้าง? วันนี้เราได้รับความรู้จากคุณบุญทวี ศรีประเสริฐ   นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวิเคราะห์วิจัยทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี มาให้ความรู้ ในเรื่องแร่อัญมณี

     ในอดีต ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตพลอยคอรันดัมที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก  มีทั้ง ทับทิม ไพลิน บุษราคัม และ เขียวส่อง ปัจจุบันผลผลิตพลอยเหล่านี้ลดลงไปมากประกอบกับในพื้นที่ที่มีพลอยเริ่มเป็นแหล่งชุมชน ทำให้การทำแหมืองพลอยแทบจะหายไปจากประเทศไทย  แต่ยังคงมีทำอยู่บ้างที่จังหวัดจันทบุรี กาญจนบุรี และแพร่ เป็นต้น ดังนั้นวัตถุดิบพลอยชนิดต่างๆส่วนใหญ่จึงนำเข้ามาจากแหล่งอื่นๆทั้งจากแหล่งในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เวียดนาม กัมพูชา และแหล่งไกลออกไป เช่น ศรีลังกา มาดากัสการ์ เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก ออสเตรเลีย เป็นต้น

         พลอยคอรันดัมมีส่วนประกอบเป็น   อะลูมิเนียมออกไซด์(Al2O3) ในสภาวะบริสุทธิ์จะไม่มีสี  อาจจะมีธาตุอื่นปนเป็นมลทินบ้างเล็กน้อย   เช่น เหล็ก  โครเมียม ไทเทเนียม   วาเนเดียม เป็นต้น ซึ่งมลทินธาตุต่างๆเหล่านี้ ทำให้พลอยคอรันดัมมีสีแตกต่างกันออกไป   คอรันดัมเป็นแร่ที่อยู่ในระบบผลึกเฮกซะโกนาล   มีความแข็งตามมาตราความแข็งของโมส์เท่ากับ 9 มีความถ่วงจำเพาะ 3.99-4.10 หรือ   ประมาณ 4 มีความวาวคล้ายแก้วถึงคล้ายเพชร ผลึกที่พบตามธรรมชาติ   อาจมีลักษณะโปร่งใส โปร่งแสง หรือ มืด-ทึบแสงได้  ผลึกลักษณะโปร่งใส-โปร่งแสง   นิยมนำมาเจียระไนให้สวยงาม ทำเป็นอัญมณี เครื่อง ประดับ  พลอยคอรันดัมอาจจัดแบ่งตามลักษณะสีออกเป็น 2   กลุ่มใหญ่ๆคือ ชนิดที่มีสีแดงอ่อนไปจนถึงแดงแกมม่วง   มีสีเข้มปานกลางไปจนถึงเข้มมาก เรียกว่า ทับทิม (Ruby)   และชนิดที่มีสีอื่นๆนอกจากสีแดง เรียกว่า แซปไฟร์(Sapphire)   ทั้งหมด เช่น แซปไฟร์สีน้ำเงินหรือ ไพลิน (Blue sapphire)   แซปไฟร์สีเขียวหรือเขียวส่อง (Green sapphire)   แซปไฟร์สีเหลือง หรือบุษราคัม (Yellow sapphire) เป็นต้น   โดยทั่วไปแล้ว ขนาดของแซปไฟร์ที่พบส่วนใหญ่จะมีขนาดโตกว่าขนาดของทับทิมโดยเฉลี่ย   และพ่อค้าพลอยในประเทศไทย จะเรียกพลอยคอรันดัมว่า  พลอยเนื้อแข็ง

                พงศ์ศักดิ์ วิชิต (2531) ได้กล่าวถึง แหล่งพลอยแหล่งพลอยทับทิม-แซปไฟร์ที่สำคัญของไทยในอดีต  ดังนี้

                1 พลอยจากแหล่ง จันทบุรี-ตราด พลอยจากจังหวัดจันทบุรี-ตราด เป็นที่ทราบและรู้จักกันดี มาเป็นเวลานานแล้วทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ พลอยจากแหล่งนี้มีสีสรรลักษณะแตกต่างกันไป ตามสภาพพื้นที่ที่กำเนิด มีสีและชนิดต่างๆ เช่น น้ำเงิน เขียว เหลือง แดง พลอยสาแหรก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพบอัญมณีชนิดอื่นๆเกิดร่วมในบางแหล่ง เช่น เพทาย โกเมน ควอตซ์ เป็นต้น โดยทั่วไปจะพบทับทิมมากในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และเขตอำเภอเขาสมิง บ่อไร่ จังหวัดตราด ส่วนพลอยแซปไฟร์พบมากในเขตอำเภอท่าใหม่ อำเภอเมือง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี  ในปัจจุบัน(พ.ศ.2555) ไม่มีแหล่งผลิตพลอยในจังหวัดตราดแล้ว แต่ยังคงมีแหล่งผลิตอยู่บ้างในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี แต่จันทบุรียังคงเป็นตลาดซื้อขายพลอยที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีการนำพลอยคอรันดัมและพลอยชนิดอื่นๆ จากแหล่งอื่นๆเช่น พม่า เวียดนาม กัมพูชา อาฟริกา เคนยา โมซัมบิก เป็นต้น มาเจียระไนและซื้อขายกันอยู่

                2 พลอยจากแหล่งกาญจนบุรี พลอยเมืองกาญจน์ก็เป็นที่ทราบกันดีและมีชื่อเสียงมานานในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับพลอยจากแหล่งจันทบุรี-ตราด แหล่งพลอยอยู่ในเขตอำเภอบ่อพลอย พลอยที่พบส่วนใหญ่เป็นแซปไฟร์สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ส่วนสีอื่นๆ เช่น สีเหลือง น้ำตาลอ่อน แดงอ่อน ก็พบบ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนทับทิมหายากมาก ขนาดของพลอยที่พบส่วนใหญ่จะมีขนาดโต ส่วนพลอยชนิดอื่นที่พบในแหล่งนี้ ได้แก่ นิลตะโก(Black spinel) นิลเสี้ยน(Pyroxene) โกเมน แมกนีไทต์ ซานิดีน(Feldspar) เป็นต้น นอกจากจะมีการทำเหมืองขนาดเล็กโดยชาวบ้านแล้ว ในแหล่งนี้เคยมีการทำเหมืองขนาดใหญ่โดยหลายๆบริษัท เช่น เอส เอ พี จำกัด บริษัท พีดี  จำกัด เป็นต้น ซึ่งได้เครื่องมือและเทคนิคที่ดัดแปลงมาจากการทำเหมืองดีบุก และใช้ความรู้เชิงวิชาการในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลและผลผลิตอย่างสูงสุด เป็นการเปลี่ยนแปลงพริกรูปโฉมการทำเหมืองพลอยในประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ในปัจจุบันนี้(พ.ศ.2555) เหมืองพลอยดังกล่าว ได้หยุดการผลิตแล้วและเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูพื้นที่ไปทำกิจการอย่างอื่นแล้ว 

   alt

แหล่งพลอยคอรันดัม บริเวนอำเภอท่าใหม่ จันทบุรี

                นอกจากพลอยคอรันดัมแล้ว ประเทศไทยยังมีแหล่งอัญมณีชนิดอื่นอีกหลายชนิด แต่ยังไม่ได้เป็นแหล่งผลิตสำคัญซึ่งอาจเป็นเพราะ มีขนาดเล็ก มีปริมาณและคุณภาพไม่เพียงพอที่จะพัฒนาเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ได้  แหล่งอัญมณีชนิดต่างๆของประเทศไทย แสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แหล่งอัญมณีชนิดต่างๆ ในประเทศไทย (คัดลอกและดัดแปลงจาก Vichit, 1992)

แหล่ง

ชนิดอัญมณี

คุณค่าเชิงพาณิชย์

อุตรดิตถ์

อ. ท่าปลา   บ้านงมสาก

แอกทิโนไลต์  (Actinolite)

ผลึกมีขนาดตั้งแต่   0.5 x   0.5 x 0.7 มม ถึง 1.5 x1.7 x 2.0 มม  แสดงลักษณะคล้ายตาแมวชัดเจน

ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด   ตัวอย่างถูกนำมาตรวจสอบที่กรมทรัพยากรธรณี

ไม่ทราบแหล่งที่มา

พรีไนต์(Prehnite)

ผลึกมีสีเขียวและค่อนข้างโปร่งใส   ตัวอย่างขนาดใหญ่ ประมาณ 2.0 x 2.5 x 3.0 มม    แร่นี้มีลักษณะสีคล้ายกับฟลูออไรต์สีเขียวมาก  

มีรายงานว่าพบปริมาณเล็กน้อย   แหล่งแร่ยังไม่มีการตรวจสอบ

เลย

อ. วังสะพุง   บ้านคอกปันวาน

อะเกต   (Agate)   และ เลือดพระลักษณ์(Bloodstone )

มีปริมาณเล็กน้อย   กระจายตัวทั่วไป

ลพบุรี

อ. ชัยบาดาล  บ้านโป่งหัวแหวน บ้าน ซับหินกวาง บ้านเมืองคม   บ้าน เขา หมูมัน

อ. โคกสำโรง  บ้านเขาสามพันไร่

อะเกต(Agate) คาลซีโดนี(Chalcedony) ซาร์ด(Sard) และโอปอธรรมดา(Common opal)

คาลซีโดนี   ที่พบทั่วไปมีสีหลายเฉดสีของสีน้ำตาลอ่อน เทา และฟ้าอ่อน  โดยทั่วไป สีของโอปอ เป็นสีน้ำนม เหลือง   และชมพู

แหล่งขนาดเล็ก   ยังไม่พบโอปอมีค่าคุณภาพดี อัญมณีที่พบเหล่านี้มักนำมาเจียระไนแบบโค้งมนหลังเบี้ยและผลิตขายในตลาดในประเทศเท่านั้น

เชียงใหม่

อ. แม่แจ่ม   บ้านห้วยม้ง

เบริล(Beryl)

ผลึกมีขนาดตั้งแต่   0.5 x   0.5 x 0.7 มม ถึง 2.0 x 3.0 x 6.0 ซม   มีสีเขียวแกมฟ้าอ่อนถึงเขียว ส่วนใหญ่โปร่งแสง

เป็นแหล่งแร่ดีบุก(Cassiterite)  ผลึกเบริลมีลักษณะแตกหักมากเป็นข้อจำกัดด้านคุณค่าทางอัญมณี   อย่างไรก็ตาม ผลึก เบริลบางผลึก มีสีสวยงาม    และบางส่วนของผลึกเหมาะสมสำหรับการเจียระไน

อ. อมก๋อย   บ้านแม่สะงิม บ้านแม่ตืน

เบริล(Beryl)

ผลึกมีขนาดเล็ก   ขนาด 0.5   x 1.7 ซม มีสีเขียวอ่อน มีรายงานว่าพบผลึกขนาดยาว 30 ซมในบริเวณนี้ด้วย

เป็นแหล่งแร่ดีบุก(Cassiterite)  แร่ เบริลที่ไม่ใช่คุณภาพอัญมณี   เกิดเป็นแร่รอง(accessory mineral)ในปริมาณเล็กน้อย

ราชบุรี

อ. สวนผึ้ง  บ้านห้วยเสือ

เบริลและควอตซ์สีชมพู(Rose quartz)

เบริลมีสีเขียวอ่อน   เขียวแกมน้ำเงินอ่อน และน้ำตาลแกมเหลือง ผลึกมีรูปร่างเป็นแท่งหกเหลี่ยมสวย   บางผลึกในแหล่งนี้มีขนาดใหญ่มาก เช่น 12 x12 x12.5 ซม   ผลึกขนาดเล็กสุดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 1 ซม

พบในปริมาณค่อนข้าวมาก   แต่ไม่มีความโปร่งใสมากพอที่จะเจียระไนแบบหน้าเหลี่ยม   แหล่งที่พบเป็นแหล่งแร่เฟลด์สปาร์ เป็นแหล่งสะสมแร่หลากชนิดที่รู้จักกันดี

บ้านห้วยเมือ   ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านห้วยเสือ 8 กิโลเมตร

เบริลและควอตซ์สีชมพู(Rose quartz)

เบริลมีสีเขียวอ่อน   ผลึกมีรูปร่างเป็นแท่งหกเหลี่ยมสวย ผลึกขนาดใหญ่ที่สุดที่พบประมาณ 12 x 20 x 28 ซม

น้ำหนักประมาณ   13.6 กิโลกรัม

สีของควอตซ์ตั้งแต่สีชมพูอ่อนมากถึงสีชมพูเข้ม

เป็นแหล่งแร่ควอตซ์และเฟลด์สปาร์   สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม เบริลและควอตซ์สีขมพู จำนวนน้อยใช้ในเครื่องประดับ

ภูเก็ต-พังงา

หุบกะทู้และในทะเลของอ่าวขามของภูเก็ต   ใกล้ฝั่งและในพื้นที่ตั้งแต่บ้านบางสักบ้านน้ำเค็มถึงบ้านทุ่งตึก และพื้นที่คลองเลยของพังงา

เพชร

มีขนาดตั้งแต่   1.8 มม ถึง 4.7 มม(0.04-0.89 กะรัต)   หน้าผลึกไม่ค่อยเด่นชัด สีผลึกคุณภาพต่ำ   หลายตัวอย่างมีลักษณะเป็นจุดสีอาจเนื่องมาจากการทำลายจากรังสี

ปัจจุบัน   ยังไม่คุ้มค่าที่จะทำเหมืองเพชรในลานแร่ดีบุก อย่างเดียว

พังงา

อ. คุระบุรี  คูรด

ควอตซ์สีชมพู

มีสีตั้งแต่ชมพูอ่อนถึงชมพู   บางก้อนมีสีม่วงปน มีผลึกทัวร์มาลีนเกาะกันเป็นกลุ่มบนผิวหน้าผลึกควอตซ์

เป็นแหล่งแร่ดีบุก   ควอตซ์สีชมพูอาจใช้เป็นหินตกแต่ง หินประดับได้

ศรีษะเกษ

อ. ขุนหาน  ภูฝ้าย

โกเมน(Garnet)

พบเกิดเป็นเศษแร่แตกหักเป็นเหลี่ยมขนาดเล็ก   มีสีน้ำตาลแดง พบเกิดร่วมกับแร่อิลเมไนต์

แหล่งขนาดเล็ก   ทำเหมืองโดยนักหาแร่มานาน

ชลบุรี

อ. บัวบึง   เขาพาย

โกเมน(Garnet)

ผลึกหน้าครบสมบูรณ์ถึงผลึกกลม   มักมีรอยแตกมากและมีขนาดตั้งแต่ถึง 3.0 ถึง 8.0 มม.

แหล่งทำเหมืองโดยนักหาแร่ในปี   1977 พบโกเมนคุณภาพอัญมณีเพียงเล็กน้อย

ระยอง

อ. แกลง

โกเมน(Garnet)

มีสีน้ำตาลแดงเข้ม-ดำ   รอยแตกมาก และมีขนาดตั้งแต่ 1.0 มม ถึง 8.0 มม

มีจำนวนน้อยที่เจียระไนได้

จันทบุรี-ตราด

อ.ท่าใหม่  เขาพลอยแหวน จันทบุรี

อ. บ่อไร่  หนองบอน ตราด

คอรันดัม   (ไพลิน เขียวส่อง ทับทิม) มีหลายขนาดและหลายเฉดสี   ทับทิมมักมีขนาดเล็กกว่าและพบน้อยกว่าแซบไฟร์

เป็นอัญมณีมีคุณภาพนำมาเจียระไนได้   เป็นแหล่งที่รู้จักกันดี

อ.ท่าใหม่  เขาพลอยแหวน จันทบุรี

อ. บ่อไร่  หนองบอน ตราด

โกเมน

พบเป็นผลึกไม่สมบูรณ์และมีรอยแตกแบบม้วนก้นหอย   ผลึกมีสีตั้งแต่น้ำตาลแดงอ่อนถึงเข้ม มีขนาดตั้งแต่0.4 ซม   ถึง 4.0 ซม บางทีอาจมากว่า 5 ซม

หลายตัวอย่างได้มาจากจันทบุรี   มีคุณภาพสูงพอที่จะเจียระไนได้ ที่หนองบอน ตราด มีปริมาณน้อยที่มีคุณภาพเป็นอัญมณี

อ.ท่าใหม่  เขาน้อย จันทบุรี

ควอตซ์

สีชมพู   ขาวแกมเทาและสีน้ำนม สีชมพูมีสีตั้งแต่ชมพูอ่อนมากถึงชมพูเข้มสด

เหมืองแร่ควอตซ์สำหรับอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ   อาจใช้เป็นหินตกแต่ง หินประดับได้

บ่อเวฬุ  ตกพรหม    บ้านกลาง หนองปลาไหล  จันทบุรี-ตราด

เซอร์คอน(Zircon)

โดยทั่วไปมีสีน้ำตาลอ่อน   น้ำตาลแกมน้ำผึ้ง มีความวาวคล้ายแก้วและรอยแตกม้วนก้นหอย   ขนาดผลึกมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 มม ถึง 1 ซม

มีปริมาณมาก   นำมาเจียระไนได้

หลายบริเวณ

ไพร็อกซีน(Pyroxene-Aluminous   augite) สีดำ ผลึกมีหลายขนาดตั้งแต่ เศษส่วน ซม จนถึง มากกว่า 10   ซม มักมีรอยขนาน หน้าผลึกที่แตกมีความวาวและเป็นแบบม้วนก้นหอย

พบในปริมาณมาก   สามารถนำมาเจียระไนแบบหน้าเหลี่ยมและแบบโค้งมนหลังเบี้ย

ลำพูน

อ. ลี้   บ้านแพง

โอปอธรรมดา

มีสีตั้งแต่   น้ำตาล ดำแกมเทาถึงดำ

เป็นแหล่งแร่ฟลูออไรต์   โอปอที่ไม่มีคุณภาพอัญมณีเกิดเป็นแร่รอง

แพร่

อ. วังชิ้น  ดอยแก้ว

เพริดอต(Peridot)

ผลึกมีขนาดเล็กกว่าถั่วลิสง

แหล่งขนาดเล็ก   มีการทำเหมืองโดยชาวพื้นบ้านมานานหลายสิบปี

อ. วังชิ้น

ไพร็อกซีน(Pyroxene-Aluminous   augite)

สีดำ   ผลึกมีหลายขนาดตั้งแต่ เศษส่วน ซม จนถึง มากกว่า 10 ซม มักมีรอยขนาน   หน้าผลึกที่แตกมีความวาวและเป็นแบบม้วนก้นหอย

พบในปริมาณมาก   สามารถนำมาเจียระไนแบบหน้าเหลี่ยมและแบบโค้งมนหลังเบี้ย

ประจวบคีรีขันธ์

อ. หัวหิน  เขากุ้ง

ควอตซ์

ควอตซ์สีชมพู   เป็นแหล่งที่ดีสุด เมื่อเทียบด้านคุณภาพกับแหล่งอื่นๆในประเทศ

แหล่งขนาดเล็ก   โซนของแร่ควอตซ์มีขนาดเล็กเกินไปที่จะผลิตในเชิงธุรกิจ

เหมืองหัวหิน

ควอตซ์ชนิดผลึกใส   และควอตซ์เนื้อแน่นสีขาวน้ำนมถึงขาวแกมเทา

พบจำนวนเล็กน้อย   เป็นแหล่งสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม

 

จันทบุรี   ตราด ศรีษะเกษ อุบลราชธานี แพร่ และ กาญจนบุรี

เพทาย(Zircon)

โดยทั่วไปมีสีน้ำตาลอ่อน   น้ำตาลแกมน้ำผึ้ง มีความวาวคล้ายแก้วและรอยแตกม้วนก้นหอย   ขนาดผลึกมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 มม ถึง 1 ซม

จันทบุรีและตราด   พบปริมาณมาก แพร่และกาญจนบุรีพบปริมาณเล็กน้อย ปริมาณเพทายที่พบร่วมกับแซปไฟร์ที่ศรีษะเกษและอุบลราช   ธานีมีปริมาณมากกว่าแหล่งคอรันดัมแหล่งอื่นๆของประทศ

เชียงใหม่  ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ลพบุรี   นครสวรรค์ นครนายก เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ควอตซ์

ชนิดผลึกใส(Rock crystal)

แอเมทิสต์(Amethyst)

ชนิดโป่งข่าม(Rutiled quartz)

ชนิดผลึกใส   โดยทั่วไปเกิด ในหลายๆแหล่งทั่วประเทศ และส่วนใหญ่มาจากแหล่งอ. เถิน   จ. ลำปาง ทางเหนือของไทย  ค่อนข้างมีน้อยแหล่งที่ชนิดผลึกใสจะมีผลึกที่ใสจริงๆ

เลย  ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร นครพนม   เชียงราย  ลำพูน  แพร่ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์

เทคไทต์(Tektite)

พบหลายรูปร่างลักษณะ   เช่น หยดน้ำตา ผลมะนาว ตุ้มยกน้ำหนัก(dumbell)    แผ่นจาน  หมวกจีน   เป็นต้น

พบในหลายบริเวณยกเว้นบริเวณภาคกลางของประเทศ   ภาคอิสานเป็นบริเวณที่พบแหล่งเทคไทต์มาก ในอดีตเคยใช้เป็นสิ่งสักการะ   ปัจจุบันเจียระไนเป็นอัญมณีได้ ปริมาณในแต่ละแหล่งยังไม่ทราบแน่ชัด

จันทบุรี   แพร่ กาญจนบุรี

ซานิดีนและสปิเนล

ซานิดีนมีลักษณะใสและมีเฉดอ่อนของสีน้ำตาล   ขนาดทั่วไป 5-10   มม ขนาดใหญ่ประมาณ 5 ซม ก็พบ

สปิเนล   พบชนิดสีดำและทึบแสงเท่านั้น บางครั้งเป็นผลึกแปดหน้าและผลึกแฝด

ใช้เป็นอัญมณีสำหรับตลาดภายในประเทศ   เริ่มเป็นนิยมมากขึ้นภายหลังโดยเฉพาะที่กาญจนบุรี

                อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ผลผลิตพลอยต่างๆจากแหล่งภายในประเทศลดน้อยลงไปมาก ผู้ประกอบการทั้งรายย่อยรายใหญ่จึงต้องนำเข้าพลอยชนิดต่างๆและเพชรจากแหล่งต่างๆทั่วโลกเพื่อมาเพิ่มมูลค่าด้านการเจียระไน ออกแบบและเป็นเครื่องประดับต่างๆ เพื่อส่งออกอย่างต่อเนื่องทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกสูงเป็นลำดับต้นๆ ในอุตสาหกรรมส่งออกทั้งหมดของไทย โดยในปี พ.ศ.2554 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ในลำดับ 4 รองจาก รถยนต์ คอมพิวเตอร์และน้ำมันสำเร็จรูป อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศจำนวนมากและมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในลักษณะรับจ้างผลิต มีส่วนน้อยที่มีตราสินค้าเป็นของตนเองและมักเป็นผู้ประกอบการายใหญ่  วัตถุดิบสำหรับการผลิตเป็นอัญมณีและเครื่องประดับต่างๆเกือบทั้งหมด จะนำเข้าเป็นส่วนใหญ่เพื่อนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มจากช่างฝีมือแรงงานต่างๆ ทั้งนี้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปีที่ผ่านมา

 

             สนับสนุนข้อมูลโดย

สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย