ph
line2
facebook
ph
line2
facebook

การรักษานาฬิกาขั้นพื้นฐาน

clean clock
1) ถ่านนาฬิกาทั่วไปมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี แต่ถ่านของนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นจับเวลา (Chronograph) อาจอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งานจับเวลา ซึ่งผู้ใช้ควรเปลี่ยนถ่านนาฬิกาตามระยะเวลาที่กำหนด เพราะหากทิ้งไว้นานเกินไป สารจากถ่านจะรั่วและกัดกร่อน จนทำให้ฟันเฟืองนาฬิกาเสียได้
2) ไม่ควรทิ้งนาฬิกาไว้ในที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำจนเกินไปเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการกระแทกแรง ๆ และไม่ควรวางนาฬิกาไว้ในบริเวณที่มีอุปกรณ์แม่เหล็กหรือสนามแม่เหล็กสูง เพื่อให้นาฬิกาทำงานอย่างเที่ยงตรงเสมอ
3) หากเป็นนาฬิกาออโตเมติกที่เพิ่งซื้อมาใหม่ และเข็มนาฬิกานิ่งสนิท ให้ไขลานก่อน 30 รอบเพื่อให้ลานเพียงพอแล้วจึงตั้งเวลา นอกจากนี้ ควรใส่นาฬิกาทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แต่หากใส่ทุกวันและถอดเก็บเพียงตอนกลางคืน ก็ไม่จำเป็นต้องไขลานด้วยมืออีก
4) หากใส่นาฬิกาที่มีสายหนัง และใส่ทุกวัน ควรเปลี่ยนสายหนังทุกหนึ่งปีครึ่ง และไม่ควรใส่ลงน้ำ แม้ว่าจะมากับนาฬิกากันน้ำก็ตาม
5) ควรส่งนาฬิกาเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คอย่างน้อยปีละครั้งและเปลี่ยนยางกันน้ำอย่างน้อย 2 ปีต่อครั้ง หรือทันทีที่ชำรุด โดยเฉพาะผู้ที่ใส่นาฬิกาว่ายน้ำเป็นประจำ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยต้องตรวจสอบว่าเม็ดมะยมขันแน่นก่อนว่ายน้ำ และไม่ได้กดปุ่มใดๆเอาไว้ และหลังว่ายน้ำในทะเลหรือสระว่ายน้ำซึ่งมีส่วนผสมของคลอรีน ควรล้างนาฬิกาด้วยน้ำสะอาดโดยเปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่านนาฬิกา และไม่ควรใส่นาฬิกาอาบน้ำ แม้ว่าจะเป็นนาฬิกากันน้ำก็ตาม เพราะสบู่จะลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้น้ำซึมเข้าไปในนาฬิกาได
 
6) หากไม่ใช่นาฬิกากันน้ำ แต่นาฬิกาตกน้ำ ให้ถอดออกและส่งศูนย์บริการทันที เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังอยู่ด้านใน และป้องกันความเสียหายต่อกลไกการทำงาน และควรอ่านคู่มือของนาฬิกาด้วย